วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ISO/TS 16949 : Quality Managenent System for Automotive Sector

ISO/TS 16949 คืออะไร 
TS 16949 เป็นมาตรฐานข้อกำหนดเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specification: TS) ที่เป็น แนวทางของข้อกำหนดระบบบริหารงานคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ถูกจัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง TC 176 (คณะกรรมการวิชาการด้านเทคนิคชุดที่ 176 Automotive Task Group : ATG) , IATF (คณะทำงานยานยนต์ระหว่างประเทศ) และ JAWA (สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ของญี่ปุ่น) ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนับได้ว่าเป็นมาตรฐานนานาชาติที่ทันสมัยและดีที่สุดสำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO/TS 16949 ถูกพัฒนาจัดทำขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานของข้อกำหนด ISO 9001 ซึ่งได้เพิ่มเติมข้อกำหนดเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติงาน และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง 

ทำไมต้องทำ ISO/TS 16949 และทำแล้วได้ประโยชน์อะไร
  • ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าที่ส่งถึงมือผู้ใช้รถทั่วโลก 
  • ด้วยโครงสร้างที่ผู้ตรวจประเมินแบบ Third-Party ต้องลงทะเบียนไว้กับ IAFT ทำให้เกิดความเหนียวแน่นระดับโลก 
  • คุณภาพสินค้าและกระบวนการผลิตได้รับการพัฒนาดีขึ้น 
  • ลดต้นทุนการผลิตจากปริมาณของเสียที่ลดลง
  • เพิ่มความมั่นใจสำหรับการค้นหาชิ้นส่วนจากทั่วโลกว่าได้มาตรฐานเดียวกัน 
  • ทำให้ซัพพลายเออร์มีคุณภาพการทำงานที่ดีขึ้น 
  • ระบบคุณภาพเดียวกันช่วยให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเหนียวแน่นในห่วงโซ่อุปทานซัพพลายเออร์/ซัพคอนเทรกเตอร์ 
  • ลดระบบการตรวจประเมินโดย second party 
  • เป็นภาษากลางทำให้เข้าใจความต้องการด้านคุณภาพกันมากขึ้น 

การให้คำปรึกษาโดยครีซิทีฟ
ขั้นตอนการให้คำปรึกษามี 7 ขั้นตอน ดังตาราง โดยใช้เวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้รับใบรับรอง ประมาณ 8-10 เดือน (ขึ้นอยู่กับความต้องการและความพร้อมของบุคลากร) มากกว่านั้น เรายังช่วยลูกค้าต่อเนื่องตลอดอายุการรักษาและดูแลระบบอีกอย่างน้อย 3 ปี
เฟส
 กระบวนการ กิจกรรม สิ่งที่ได้จากการให้คำปรึกษา (Deliverables)

1
การวางแผน และการออกแบบระบบ (Planning and BMS Design)
  • Kick-off
  • จัดทำ Implementation plan ทั้งโครงการ
  • จัดตั้งคณะทำงาน
  • การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis)
  • จัดทำ/ทบทวนแผนผังกระบวนการธุรกิจ (Business model / process map)
  • จัดทำแผนคุณภาพและธุรกิจ (BMS control plan)

  • มีทีมทำงาน และแผนการดำเนินงานโครงการ
  • การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและบทบาทสำหรับผู้บริหารและทีมทำงานในการทำโครงการ
  • รายการเอกสารที่จำเป็นที่ต้องจัดทำ พร้อมแผนการจัดทำ ทบทวนและอนุมัติใช้
  • นโยบาย กำหนดตัวชี้วัด เป้าหมาย และจัดทำแผนกลยุทธ์

2
การฝึกอบรม (Training)
  • อบรมหลักสูตรการตีความหมายข้อกำหนด ISO/TS16949 และการนำไปปฏิบัติ
  • อบรมการวิธีการจัดทำและการควบคุมเอกสาร
  • อบรมหลักสูตร Automotive core tools (APQP, PPAP, FMEA,SPC and MSA)
  • อบรมหลักสูตร ISO/TS16949 Internal Quality Audit 

  • พนักงานได้รับการอบรมและมีความเข้าใจในข้อกำหนดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รู้จักเครื่องมือและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

3
การจัดทำเอกสาร (Documentation)
  • จัดทำเอกสารคู่มือคุณภาพและธุรกิจ (Quality/Business Manual)
  • จัดทำ/ทบทวนเอกสารระเบียบปฏิบัติ (Procedures), คู่มือปฏิบัติงาน (Work instructions) และแบบฟอร์มต่างๆ

  • คู่มือคุณภาพและธุรกิจ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • เอกสารระเบียบปฏิบัติ แผนผังขั้นตอนการทำงาน ที่เน้น Process approach
  • คู่มือปฏิบัติงานพนักงาน
  • แบบฟอร์ม แผ่นงาน และรายการตรวจสอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

4
การปฏิบัติ (Implementation)  
  • อนุมัติเอกสารในระบบและนำไปปฏิบัติใช้
  • ประกาศใช้นโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ/ธุรกิจ
  • ลงมือปฏิบัติ
  • ดำเนินการตรวจติดตามภายใน (Internal Audit)
  • ทำการทบทวนผลการดำเนินงาน (Management review)

  • การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
  • การมุ่งเน้นเพื่อปรับปรุงองค์กรให้ได้ตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
  • มีบันทึกหลักฐานผลการดำเนินงาน (Objective evidences)
5
การตรวจประเมินความพร้อม(Readiness Assessment) 
  • ดำเนินการตรวจประเมินความสอดคล้องกับข้อกำหนดโดยทีมงานที่ปรึกษา
  • แก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

  • ความสอดคล้องต่อข้อกำหนดมาตรฐาน และระเบียบปฏิบัติภายในขององค์กร
  • องค์กรมีความพร้อมในการตรวจรับรองจริง

6
การรับรองระบบ (Certification)
  • ติดต่อและเลือกหน่วยงานที่ให้การรับรองระบบ (C.B)
  • จัดส่งเอกสารให้ C.B ทบทวนและตรวจสอบ
  • Pre-assessment โดย C.B
  • Certification assessment โดย C.B
  • แก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (ถ้ามี)

  • การผ่านการตรวจเพื่อรับรองระบบ และขึ้นทะเบียนโดยผู้ตรวจประเมิน
7
การบำรุงรักษาระบบ (Business/Quality System Maintenance) 
  • การเยี่ยมชมโดยที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และรักษาระบบอย่างยั่งยืน
  • การวัดประเมินผลตอบแทนทางการเงิน
  • การอบรมหรือ  update เครื่องมือและข่าวสารใหม่ๆ

  • การวัดประสิทธิผลและผลประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากการทำโครงการ
  • คำแนะนำจุดที่สามารถนำมาปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น