วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้อกำหนด ISO/TS 16949 :2002 (ต่อ)

5.2
การให้ความสำคัญต่อลูกค้า
 

ผู้บริหารระดับสูง ต้องยืนยันว่าข้อกำหนดของลูกค้าได้รับการพิจารณากำหนดและสนองตอบไปในทางซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า (ดู 7.2.1และ8.2.1)
5.3
นโยบายคุณภาพ

ผู้บริหารระดับสูง ต้องยืนยันว่านโยบายคุณภาพ
a)
เหมาะสมกับจุดประสงค์ขององค์กร
b) ครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
c) วางกรอบการทำงานในการจัดตั้ง และทบทวนวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ
d) ได้รับการสื่อสารให้เข้าใจภายในองค์กร และ
e) ได้รับการทบทวนให้เหมาะสมอยู่เสมอ
5.4 การวางแผน
5.4.1
วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ
ผู้บริหารระดับสูง ต้องยืนยันว่ามีการกำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ตลอดจนวัต
ประสงค์อื่นใดซึ่งจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์
(ดู 7.1 a) ในระดับ หน่วยงานและระดับหน่วยงานและระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร วัตถุประสงค์ด้านคุณ ภาพที่กำหนดขึ้น ต้องสอดคล้องกับนโยบายคุณภาพและสามารถวัดได้
5.4.2
ระบบการการวางแผนในระบบการบริหารงานคุณภาพ ผู้บริหารระดับสูง ต้องยืนยันว่า
a)
มีการวางแผนในระบบการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้ ข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 รวมทั้งวัตถุประสงค์ ด้านคุณภาพได้รับการนำไปปฏิบัติตาม  
5.4.1.1
วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ เพิ่มเติม


ผู้บริหารระดับสูงต้องกำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ และการวัดผล ซึ่งต้องระบุอยู่ในแผนธุรกิจ และได้มาจากการกระจายนโยบายคุณภาพ

หมายเหตุ วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพควรให้ความสนใจต่อความคาดหวังของลูกค้า สามารถบรรลุได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด
b) ความสมบูรณ์ของระบบการบริหารงานคุณภาพยังคงได้รับการรักษาไว้ ในกรณีที่มีการวางแผนและการดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนบริหารงานคุณภาพ
5.5
ความรับผิดชอบ, อำนาจหน้าที่และการสื่อสาร


5.5.1 ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
ผู้บริหารระดับสูง ต้องยืนยันว่ามีการกำหนดและสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบถึงความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ต่างๆ ในระบบการบริหารงานคุณภาพ
5.5.2 
ผู้แทนฝ่ายบริหาร
ผู้บริหารระดับสูง ต้อง แต่งตั้งสมาชิกในฝ่ายบริหารผู้หนึ่งซึ่ง เป็นอิสระจากหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นๆ ต้อง มีความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในเรื่องต่อไปนี้
a)
การรายงานให้ผู้บริหารระดับสูงทราบถึงประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานคุณภาพ และความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงและ

b) การดำเนินการเพื่อยืนยันว่ามีการส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรตระหนักถึงข้อกำหนดของลูกค้า
หมายเหตุ
: ความรับผิดชอบของผู้แทนฝ่ายบริหาร อาจครอบคลุมถึงการติดต่อกับ
ภายนอกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารงานคุณภาพด้วย
5.5.1.1
ความรับผิดชอบด้านคุณภาพ


ผู้บริหารที่มีหน้าที่และอำนาจในการปฏิบัติการแก้ไข ต้องได้รับการแจ้งในทันทีที่มีผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด บุคคลที่รับผิดชอบในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้องมีอำนาจในการหยุดการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ การดำเนินการผลิตทุกกะ ต้องมีบุคคลที่รับผิดชอบ หรือได้รับมอบหมายความรับผิดชอบด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์
5.5.2.1
ผู้แทนลูกค้า


ผู้บริหารระดับสูงต้องมอบหมายความรับผิดชอบและอำนาจในการสร้างความมั่นใจว่าข้อกำหนดของลูกค้าได้ถูกระบุ รวมถึงการคัดเลือกคุณลักษณะพิเศษ, จัดตั้งวัตถุประสงค์คุณภาพ และการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง, การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน และการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 5.5.3 การสื่อสารภายใน

ผู้บริหารระดับสูง
ต้องยืนยันว่ามีการจัดตั้งกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสาร

ภายในองค์กร และมีการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานคุณภาพ
5.6
การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร


5.6.1
ทั่วไป

ผู้บริหารระดับสูง
ต้องทบทวนระบบการบริหารงานคุณภาพตามช่วงเวลาที่ได้วางแผนไว้ เพื่อยืนยันว่าระบบมีความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพียงพอและมีประสิทธิภาพการทบทวนนี้ ต้องครอบคลุมถึงการประเมินหาโอกาสเพื่อปรับปรุง รวมถึงความจำเป็นที่ ต้องปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานคุณภาพ ตลอดจนนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ องค์กร ต้องเก็บรักษาบันทึกการทบทวนโดยฝ่ายบริหารไว้เป็นหลักฐาน (ดู4.2.4)
5.6.2
ปัจจัยนำเข้าในการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร

ปัจจัยนำเข้าในการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ต้องครอบคลุมถึงสาระดังต่อไปนี้
a)
ผลการตรวจติดตาม (รวมถึงผลการตรวจฯ โดยบุคคลที่สองและบุคคลที่สาม)
b) การแสดงตอบกลับจากลูกค้า (customer feedback)
c) ประสิทธิภาพของกระบวนการและความสอดคล้องกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์
d) สถานะของการปฏิบัติเชิงแก้ไขและป้องกัน
e) การติดตามผลอันเนื่องมาจากการทบทวนโดยฝ่ายบริหารครั้งก่อนๆ  
5.6.1.1
สมรรถนะของระบบบริหารคุณภาพ


การทบทวนนี้ต้องครอบคลุมข้อกำหนดทั้งหมดของระบบบริหารคุณภาพ และแนวโน้มของสมรรถนะของระบบ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญหลักของกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งของการทบทวนโดยฝ่ายบริหารต้องรวมถึง การเฝ้าติดตามวัตถุประสงค์คุณภาพ
, การรายงาน และการประเมินต้นทุนที่เกิดจากคุณภาพต่ำ (ดู 8.4.1 และ 8.5.1) เป็นประจำ
ผลการทบทวนต้องได้รับการบันทึกเพื่อแสดง (เป็นอย่างน้อย) หลักฐานของการบรรลุ
-
วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพที่ระบุในแผนธุรกิจ และ
- ความพึงพอใจของลูกค้าในผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบให้f)  การปรับเปลี่ยนซึ่งอาจกระทบต่อระบบการบริหารงานคุณภาพ และ
g)
ข้อแนะนำต่างๆ เพื่อการปรับปรุง

5.6.3 ผลของการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
ผลของการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ต้องแสดงถึงการตัดสินใจ และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ
a)
การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานคุณภาพและกระบวนการต่างๆ ในระบบ
b) การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในส่วนที่ 
5.6.2.1
ปัจจัยนำเข้าในการทบทวน เพิ่มเติม


ปัจจัยนำเข้าในการทบทวนโดยฝ่ายบริหารต้องรวมถึงการวิเคราะห์ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นและแนวโน้มที่จะเกิดความล้มเหลว รวมถึงผลกระทบต่อคุณภาพ, ความปลอดภัย หรือสภาพแวดล้อม

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น